บทความ

แชร์วิธีการเลือกชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมให้ตอบโจทย์การใช้งาน

เจ้าของโรงงานควรรู้ การจัดสรรพื้นที่ในคลังสินค้าให้ใช้งานได้อย่างทั่วถึง คือหนึ่งในข้อคำนึงที่ต้องให้ความสนใจ แถมยังเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าให้เหมาะสมกับขนาดและลักษณะการใช้งาน พร้อมแชร์เทคนิคการเลือกระดับมืออาชีพ เริ่มต้นตั้งแต่การทำความรู้จักกับประเภทของชั้นวางไปจนถึงปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ
What are the types of industrial racking systems?

ประเภทของชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในคลังสินค้า

เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตก็ย่อมต้องมีคลังสินค้าเป็นของคู่กัน แต่การจะจัดสรรพื้นที่เพื่อให้สามารถเพิ่มความจุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการเลือกชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมต่อประเภทการใช้งาน เพื่อที่จะช่วยรักษาคุณภาพสินค้า และแยกหมวดการจัดเก็บได้ตามมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ง่ายต่อการค้นหาและเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยชั้นวางสินค้าอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ชั้นวางสินค้าขนาดใหญ่

  • Selective Rack

    หนึ่งในชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เหมาะต่อการจัดเก็บสินค้าที่จัดวางบนพาเลท มีโครงสร้างแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทั้งยังสามารถปรับระยะห่างของแต่ละชั้นได้มากเท่าที่ต้องการ โดยการเลือกชั้นวางประเภทนี้ จะมีข้อดีด้านการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์การจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสินค้าที่หลากหลาย ทำให้เหมาะต่อการใช้งานกับโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าทั่ว ๆ ไป
  • ชั้นวางสินค้าแบบ Drive-In

    เหมาะสำหรับการเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าที่มี SKU (Stock Keeping Unit) น้อย แต่มีปริมาณการจัดเก็บจำนวนมาก เพื่อบริหารพื้นที่ เพิ่มความสามารถในการจัดเก็บ อย่างไรก็ตาม ชั้นวางสินค้าประเภทนี้ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะการจัดเก็บพาเลท เนื่องจากเป็นระบบหมุนเวียนแบบ First-In, First-Out ทำให้ต้องมีการวางแผน จัดระเบียบการลำดับสินค้าให้ดี เพื่อให้ง่ายต่อการนำออก
  • ชั้นวางสินค้าแบบ FIFO

    เป็นชั้นวางที่มีระบบลูกกลิ้งอยู่ภายในพาเลท โดยจะเคลื่อนสินค้าไปในทางเดียวกันตามแนวความลึกคล้ายกับชั้นวางประเภท Drive-In และเบิกจ่ายด้านหลังแบบระบบ First-In, First-Out อีกทั้งยังมีความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวของสินค้า จึงทำให้เหมาะกับการใช้งานในคลังที่ต้องการจัดระเบียบการจัดเก็บตาม SKU รวมไปถึงสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาหรือความต้องการในการหมุนเวียนอยู่สม่ำเสมอ
  • ชั้นวางสินค้าแบบ Push Back

    สำหรับคนที่ต้องเลือกชั้นวางสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้าประเภทที่ไม่มีการตกรุ่น เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ Push-Back Rack คือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยการผสมผสานระหว่างชั้นวางแบบ Drive-In และ FIFO ในรูปแบบที่มีขนาดและช่วงลึกที่มากกว่า ทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มอุปกรณ์ถอดรับพาเลทเข้ามาในแต่ละชั้น ทำให้สินค้าที่ถูกจัดเก็บไว้ก่อนจะร่นเข้าไปด้านใน และจะเคลื่อนตัวออกมาก็ต่อเมื่อพาเลทที่วางไว้ถูกนำออกนั่นเอง
  • Mobile Rack

    เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่ต้องการลดพื้นที่และลดการสูญเสียพลังงานในการจัดเก็บสินค้า เนื่องจากชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมแบบเคลื่อนที่จะมีการใช้งานที่คล้ายคลึงกับ Selective Rack แต่สามารถเคลื่อนชั้นวางไปทางแนวซ้ายและขวา เพื่อเปิดช่องทางให้รถยกเข้าไปตักสินค้าได้อย่างยืดหยุ่น จึงช่วยทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการจัดเก็บได้มากขึ้นถึง 80% โดยจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็น
  • ชั้นวางสำหรับวัสดุยาว (Cantilever Rack)

    เหมาะสำหรับการเลือกชั้นวางสินค้า เพื่อจัดเก็บสินค้าที่มีลักษณะยาวมากหรือเป็นวงแหวน ทั้งกระดาษ ท่อ อะลูมิเนียมเส้น หลอดไฟ โดยจะเพิ่มความเป็นระเบียบให้แก่คลังสินค้า ทั้งยังมีแขนชั้นวางที่รับน้ำหนักได้ดี ทำให้จัดเก็บได้อย่างปลอดภัย และง่ายต่อการค้นหา
  • ชั้นลอย (Mezzanine Floor)

    ทิ้งท้ายของชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ด้วยชั้นลอยอเนกประสงค์ หนึ่งในอุปกรณ์ชั้นวางที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการจัดสรรพื้นที่ภายในคลังได้อย่างตอบโจทย์ ด้วยโครงสร้างเหล็กที่แข็งแรง ประกอบกับคุณสมบัติที่สามารถรับน้ำหนักได้สูง และการยกระดับจนกลายเป็นชั้นลอย ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและรื้อถอน พร้อมเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บหรือตัดแปลงเป็นสำนักงานภายในได้อย่างปลอดภัย

2. ชั้นวางสินค้าขนาดเล็ก

Factors to consider when choosing racking systems for a warehouse.
  • ชั้นวางแบบ Micro Rack

    ชั้นวางอเนกประสงค์ที่เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าทั่ว ๆ ไป โดยจะรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 150-250 กิโลกรัม/ชั้น อีกทั้งยังสามารถปรับระดับให้สูงเหมาะสมกับขนาดสินค้า พร้อมเพิ่มแผงปิดด้านหลังกันตกได้อย่างปลอดภัย ด้วยโครงสร้างที่เป็นแบบ Knock-Down จึงทำให้เหมาะสมต่อการใช้งานทั้งในคลังสินค้าและร้านค้า เนื่องจากง่ายต่อการติดตั้งและขนย้าย
  • ชั้นวางขนาดกลาง (Medium Shelving)

    เหมาะสำหรับการเลือกชั้นวางสินค้าที่เป็นแบบกล่องหรือลัง โดยจะมีลักษณะช่วงแผ่นที่มีความยาวมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักได้ 200-300 กิโลกรัมต่อชั้น ประกอบกับความยืดหยุ่นในการปรับระดับความสูง จึงทำให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • ชั้นวางซ้อนหลายชั้น (Multi-Tier Shelving)

    นับเป็นชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่เหมาะต่อการใช้งานในพื้นที่แนวสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการเชื่อมโยงตะแกรงโดยรอบและระหว่างชั้น ประกอบกับราวกันตก ชานชาลา และบันไดสำหรับขึ้นลงที่ทำให้โครงสร้างสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นและปลอดภัย อีกทั้งยังถอดประกอบได้ง่าย ช่วยประหยัดพื้นที่ในแนวราบได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อชั้นวางสินค้า

  1. เลือกชั้นวางสินค้าจากคุณภาพและประเภทของพาเลทชั้นวาง

    โดยคำนึงถึงคุณสมบัติในการรับน้ำหนักเป็นหลัก รองลงมาจึงจะมาดูขนาดและความกว้าง เพื่อให้เหมาะสมต่อการติดตั้งในและพื้นที่
  2. พิจารณาจากประเภทของสินค้า

    รวมไปถึงขนาดและน้ำหนัก เพื่อกำหนดการเลือกประเภทและขนาดพาเลทของชั้นวาง นอกจากนี้ ชนิดของสินค้ายังสามารถกำหนดการเลือกชั้นวางสินค้าได้อีกด้วย
  3. พื้นที่ในคลังสินค้า

    ทั้งขนาดประตู ความกว้าง ความยาว และความสูงของเพดาน ทั้งหมดนี้ต่างมีผลต่อการพิจารณาเลือกชั้นวางในคลังสินค้า เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ภายในได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. ชนิดของรถยกสินค้าที่ใช้

    โดยจะต้องพิจารณาประกอบกันเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม ทั้งระดับความสูง และขนาดที่เป็นไปตามมาตรฐานการใช้งานร่วมกันได้อย่างปลอดภัย
  5. ระบบหมุนเวียนสินค้าในคลัง

    เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาให้เหมาะสม โดยยึดตามจำนวนและรอบความเร็วในการหมุนเวียน เพื่อเลือกชั้นวางที่มีขีดจำกัดในการทำงานควบคู่กับรถยกได้อย่างเหมาะสม

เลือกชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานกับ Tellus

หากผู้ประกอบการท่านใดกำลังมองหาชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมคุณภาพเยี่ยม ราคาไม่แพง เพื่อใช้งานในคลังสินค้า Tell us คือ ผู้จัดจำหน่ายระบบจัดเก็บด้วยเครื่องกล และอุปกรณ์แบบอัตโนมัติคุณภาพเยี่ยม มีหลากหลายประเภทเลือกได้ตามต้องการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044
All search results