บทความ

6 รูปแบบการจัดเก็บสินค้าในคลัง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

ในหนังสือ The Warehouse Management Handbook; the second edition เรื่อง Stock Location Methodology ซึ่งถือเป็นคู่มืออ้างอิงสุดคลาสสิกจากสหรัฐอเมริกา ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการคลังสินค้า ที่ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาและใช้กันทั่วโลก ได้กล่าวถึงการจัดตำแหน่งวางสินค้า (Stock Location Assignment) ไว้ว่า เป็นกระบวนการกำหนดตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่อยากมีกลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าที่มีคุณภาพ เข้ามาอ่านความรู้ดี ๆ ได้ในบทความนี้เลย

การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า เป็นกระบวนการจัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบ และเก็บสินค้าเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของสินค้าให้อยู่ในสภาพดี เพื่อรอส่งต่อไปยังลูกค้า โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณสินค้า ประเภทสินค้า ลักษณะสินค้า ความสะดวกในการค้นหา และความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจทุกขนาด ทุกประเภท


ข้อดีของการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

การจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้สินค้าคงคลัง (Inventory) มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และมีประโยชน์กับการทำธุรกิจในหลายด้าน ดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า : ช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ประหยัดเวลาในการจัดเก็บสินค้า : ช่วยในการค้นหาสินค้าและหยิบสินค้าของพนักงานเป็นไปได้สะดวกและรวดเร็ว
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้า : ช่วยให้สามารถจัดหาสินค้าได้อย่างทันเวลา และเพียงพอต่อความต้องการในการผลิตและการจัดจำหน่าย
  • ป้องกันการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า : ช่วยให้สามารถควบคุมการเข้าถึงสินค้าได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ : ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

6 กลยุทธ์รูปแบบการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

นอกจากนี้ ในเนื้อหาของ Stock Location Methodology ยังจัดแบ่งรูปแบบการจัดเก็บสินค้าออกเป็น 6 กลยุทธ์ ดังนี้

1. การจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location Storage)

รูปแบบการจัดเก็บสินค้าที่มีกำหนดตำแหน่งสินค้าทุกชนิด หรือทุก SKU (Stock Keeping Unit) ในการจัดเก็บและการนำออกไว้อย่างชัดเจน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง เพื่อช่วยให้การจัดเก็บและหยิบสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณและประเภทคงที่ หรือคลังสินค้าที่มีพนักงานไม่มาก

 


2. การจัดเก็บแบบไม่กำหนดตำแหน่งตายตัว (Non-Fixed Location Storage)

รูปแบบการจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว สามารถจัดเก็บสินค้าได้ทุกตำแหน่งในคลัง เป็นระบบการจัดเก็บที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้งานพื้นที่จัดเก็บได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สะดวกต่อพนักงานที่ดูแล

เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักและขนาดแตกต่างกัน มีปริมาณและประเภทไม่แน่นอน

 


3. การจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ (Informal Storage)

รูปแบบการจัดเก็บสินค้าที่ไม่มีกระบวนการที่ถูกกำหนดไว้อย่างเจาะจง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ โดยพนักงานผู้ดูแลสามารถกำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บและปริมาณได้ตามความเหมาะสม มีข้อดีคือทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้ในหลายพื้นที่ แต่อาจทำให้บริหารพื้นที่จัดเก็บได้ยาก หรือมีพื้นที่จัดเก็บน้อยลง

เหมาะสำหรับคลังในร้านขายของชำขนาดเล็ก คลังสินค้าในครัวเรือน

 


4. การจัดเก็บแบบเรียงตามรหัสสินค้า (Item Number Storage)

รูปแบบการจัดเก็บที่คล้ายกับแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว แต่จะมีการใช้รหัสสินค้าหรือตัวเลขในการจัดเก็บและเรียงลำดับ เพื่อความถูกต้องของข้อมูล เช่น สินค้า A110 จะถูกจัดเก็บก่อนสินค้า A11 โดยระบบนี้จะช่วยให้การจัดเก็บสินค้ามีความเป็นระเบียบ พนักงานสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้นและจัดส่งออกไปได้อย่างรวดเร็ว

เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณและประเภทคงที่ หรือสินค้าที่มีจำนวนการนำเข้าและส่งออกคงที่

   


5. การจัดเก็บแบบเรียงตามประเภทสินค้า (Classified Storage)

รูปแบบการจัดเก็บที่เรียงตามประเภทสินค้า โดยจะจัดวางสินค้าในกลุ่มเดียวกันหรือประเภทเดียวกันไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กัน คล้ายกับการวางสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วไป ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยให้พนักงานสามารถทราบถึงตำแหน่งของสินค้าที่จะต้องไปหยิบได้อย่างรวดเร็ว

เหมาะสำหรับสินค้าที่มีประเภทชัดเจน เช่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง หรือของใช้ในครัวเรือน

 


การค้นหาสินค้าในคลัง

6. การจัดเก็บแบบผสม (Combination System)

รูปแบบการจัดเก็บสินค้าที่ผสมผสานในหลายระบบ เริ่มตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป โดยจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยบริหารงานสำหรับระบุตำแหน่งในการจัดเก็บ เช่น ฐานข้อมูล (Database) หรือใช้ระบบไฟล์ (File System) เช่น การจัดเก็บสินค้าอันตรายแบบกำหนดตายตัว และจัดเก็บสินค้าอาหารแบบไม่ได้กำหนดตำแหน่ง โดยให้ทั้งสองประเภทอยู่ห่างกัน เพื่อให้การจัดเก็บสินค้ามีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ที่สุด

เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่และสินค้าที่จัดเก็บนั้นมีความหลากหลาย

นอกจากการมีกลยุทธ์ในการจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพแล้ว การมองหาชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า ที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างทนทาน และปลอดภัย ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ปรึกษาเราได้ที่ Tellus ที่สุดของ Storage Solution ที่ได้มาตรฐาน เราเป็นผู้ผลิตและออกแบบระบบจัดเก็บคลังสินค้าอัตโนมัติ ในราคาคุ้มค่า เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ พร้อมมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานภายในคลังสินค้าของคุณมากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044

 


แหล่งอ้างอิง


All search results